ข้อมูลพื้นฐานประเทศเวียดนาม


http://travel.mthai.com/travel_tips/64748.html



ประเทศเวียดนาม 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทิศเหนือติดกับจีน   ทิศตะวันตกติดกับลาว   ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับกัมพูชา   ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้และอ่าว Tonkin  ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย
พื้นที่331,690 ตารางกิโลเมตร(ประมาณพื้นที่ 3 ใน 5 ของไทย
เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Hanoi)
ประชากร 86 ล้านคน (2550)
ภูมิอากาศ
อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิต่ำสุดกับสูงสุดอยู่ระหว่าง 5 องศาเซลเซียสถึง 37 องศาเซลเซียส และมีฝนตกระหว่างช่วงพฤษภาคม
– กันยายน
ภาษา:ภาษาเวียดนาม
ศาสนา: ศาสนาพุทธ (มหายาน) มีจำนวนผู้นับถือมากที่สุด
หน่วยเงินตรา: เงินด่ง (1 บาท : ประมาณ 500 ด่อง ณ กุมภาพันธ์ 2551)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ :(GDP) 73.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)
รายได้ประชาชาติต่อหัว :(GNI per capita) 835 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.5 (ช่วงครึ่งแรกของปี 2551)
รูปแบบการปกครองระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (Communist Party of Vietnam)
ประมุข
นายเหวียน มินห์ เจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) ประธานาธิบดี
หัวหน้ารัฐบาล
นายเหวียน เติน ซุง (Nguyen Tan Dung) นายกรัฐมนตรี
นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น (Nong Duc Manh) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์
รัฐบาลปัจจุบัน
 1.การเมืองการปกครอง
1.1 การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพและเอกภาพสูง อีกทั้งมีการกระจายอำนาจการบริหารในทางเศรษฐกิจแก่แต่ละจังหวัดเพื่อพัฒนา และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งในการเปลี่ยนผู้นำครั้งล่าสุดภายหลังการประชุมสมัชชาพรรคมิวนิสต์ เวียดนามสมัยที่ 10 เมื่อปี 2549 ได้มีการเลือกตั้งผู้นำที่มาจากทั้งภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจและมีภาพลักษณ์ของผู้นำรุ่นใหม่
1.2 ที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติเวียดนาม สมัยที่ 12 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 ได้ให้การรับรองสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 จำนวน 493 คนจากผู้สมัครทั้งหมด 876 คน เป็นสมาชิกสภาแห่งชาติหน้าใหม่ 345 คน โดยได้เลือกผู้นำเวียดนาม 3 คน ได้แก่ นายเหวียน เติน ซุง นายกรัฐมนตรี นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และนายเหวียน มินห์ เจี๊ยต ประธานาธิบดี ซึ่งได้คะแนนเสียงร้อยละ 99.1 91.2และ 89.7 ตามลำดับ และเลือกคณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีจำนวน 5 คน และรัฐมนตรีจำนวน 22 คน รัฐมนตรีส่วนใหญ่จะได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. เศรษฐกิจและสังคม
2.เวียดนามมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงและขยายตัวอย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบาย ปฏิรูปเศรษฐกิจ โด่ย เหมย” (Doi Moi) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2529 ปัจจุบันเวียดนามพยายามปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550
ในการพัฒนา ประเทศ เวียดนามได้ดำเนินการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ระหว่างปี 2549-2553 ซึ่งสรุปเป้าหมายและทิศทางของการพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปี ดังนี้
(1) ดำเนินการตามนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ โด่ย เหมย” (Doi Moi) เพื่อให้อัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตร้อยละ 8 หรือมากกว่าภายในปี 2553 (ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 94 - 98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
(2) สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจการตลาดแบบสังคมนิยมเพื่อก้าวสู่ความเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและทันสมัยภายในปี 2563
(3) พัฒนา knowledge - based economy
(4) ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ เวียดนามมีนโยบายเน้นหนักเรื่องการส่งเสริมธุรกิจเอกชน เร่งปฏิรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ และเชิญชวนนักลงทุนจากต่างประเทศ
2.2 ปัจจุบัน เวียดนามประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนเงินด่องกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ธนาคารชาติเวียดนามต้องประกาศมาตรการแก้ไขปัญหาโดยปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยพื้นฐานจากร้อยละ12 เป็นร้อยละ 14 และประกาศปรับความเคลื่อนไหวในอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินด่องกับดอลลาร์สหรัฐ ไม่เกินร้อยละ 2 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวร้อยละ 6.5 ในขณะที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 26.8 ในเดือนมิถุนายน 2551
2.3ด้านการค้าระหว่างประเทศ เวียดนามยังคงขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เป็นมูลค่า 16,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการนำเข้า 45,500 ล้านดอลลร์สหรัฐ และส่งออก 28,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การแก้ไขภาวะการขาดดุลการค้าเป็นปัญหาท้าทายสำหรับเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามมีโครงการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการนำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรและวัตถุดิบจากต่างประเทศสูง
2.4 เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าประมงเป็นสำคัญ
โดย ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับสองรองจากไทย (ประมาณ 3-4 ล้านตันต่อปี) ส่งออกพริกไทยดำและเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มากที่สุดในโลก ส่งออกกาแฟเป็นอันดับสองของโลก ส่งออกยางพาราเป็นอันดับสี่ของโลก และเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันดิบมากเป็นอันดับสามในเอเชีย
2.5นักลงทุนต่างประเทศยังคงมีความมั่นใจในศักยภาพและบรรยากาศการลงทุนใน เวียดนาม โดยสะท้อนในรูปของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าสูงถึง 31,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ถึง 3.7 เท่า การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมากอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การสำรอง เงินตราต่างประเทศของเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกือบ 2 เท่าในรอบปีที่ผ่านมา

                                                                                                 ที่มา .ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศเวียดนาม           
                                                                                                        สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557

นางสาว ภาสินี    วงษ์อยู่น้อย เลขที่ 36  ม.5/5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น